วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

โครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ



      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงมีพระราชดําริและได้พระราชทานแนวคิด แนวทางการปฏิบิติ ต่างๆ ให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเปลี่ยนนการดำเนินชีวิต ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน  ระดับองค์กร  ระดับรัฐ  ให้รอดพ้นจากวิกฤตและดําเนินอยู่ในสังคมได้อย่างสมดุล  มั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งได้มีการนําแนวพระราชดําริต่างๆ มาจัดทําเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อันมีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะการพัฒนาชนบท ตามแนวพระราชดําริที่เป็นต้นแบบของการนําแนวคิด  และวิธีการพัฒนาชนบทอย่างครบวงจร หรือที่เรียกว่า “บริการรวมที่จุดเดียว”(ONE  STOP  SERVICES)”  เพื่อยกระดับชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ยากไร้  ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเน้นการพัฒนาด้านแหล่งนํ้าการเกษตร สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นแนวพระราชดําริที่สําคัญ  และที่ได้ทรงดําเนินการมาต้ังแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ โดยที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาหลายรูปแบบผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีการดําเนินการที่คอยเป็นคอยไปตามลําดับข้ันตอนตามความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นเป็นหลัก  ท้ังนี้เพื่อให้ประชาชนพออยู่พอกินและอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองท้ังด้านเศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกันก็ให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่พระองค์ได้พระราชทานแนวทางการดําเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อให้องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถสนองพระราชดําริได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สอดคล้องกับแนวคิดของสหประชาชาติ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๕  สหประชาชาติได้เน้นความสําคัญการพัฒนาในสามมติ ได้แก่ มิติทางสังคม มิติทางเศรษฐกิจ และมิติทางสิ่งแวดล้อม โดยได้กําหนดให้เป็นแผนแม่บทในระดบโลกในชื่อของแผนปฏิบิตัการ ๒๑ (AGENDA 21) 

      การดําเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้น้อมนําเอาพระราชดําริมาใช้ในการดําเนินงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆท้ังในสังคมเมือง และในสังคมชนบทห่างไกล ตามโครงการพระราชดาริ และโครงการตามพระราชประสงค์ต่างๆ ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีส่วนรับผิดชอบหลายโครงการด้วยกัน ซึ่งหลายโครงการเป็นความรับผิดชอบโดยตรง และบางโครงการเป็นงานที่กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการเข้าไปร่วมดำเนินการกับหน่วยงานอื่นๆ

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

Greenpeace

กรีนพีซ (อังกฤษ: Greenpeace) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ (NGO) นานาชาติที่ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ ก่อตั้งในประเทศแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2514
กรีนพีซมีชื่อเสียงมาจากการรณรงค์โดยใช้วิธีการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี โดยใช้ความสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดสื่อ เพื่อต่อสู้กับ การทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ และการล่าปลาวาฬในทะเลเปิด ในปัจจุบันกรีนพีซสากลได้งานรณรงค์ต่างๆ ได้แก่ การปกป้องมหาสมุทร เช่น การใช้อวนลากที่พื้นทะเล การจับปลาผิดกฎหมาย การจับปลามากเกินไป เป็นต้น การต่อต้านการดัดแปลงพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ การหยุดยั้งสารพิษ การยุติแห่งพลังงานนิวเคลียร์ และ การปกป้องป่าโบราณ และแน่นอน การหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน) โดยผู้นำโลกได้ร่วมประชุมในปลายปี 2552 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อตัดสินชะตากรรมของสภาพภูมิอากาศ การประชุมครั้งนี้อาจนำพวกเราสู่เส้นทางของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูง หรืออาจทำให้โลกติดอยู่ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับหายนะ และย้อนกลับคืนไม่ได้อีก แต่ผลกลับเป็นความล้มเหลว โดยผู้นำโลกไม่ออกนโยบายที่ชัดเจนในการพลิกกลับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบัน กรีนพีซมีสำนักงานประจำประเทศและภูมิภาค อยู่ใน 41 ประเทศทั่วโลก โดยทุกสำนักงานจะทำงานร่วมกับ กรีนพีซสากล (Greenpeace International) ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ชื่อที่ใช้ดำเนินการในประเทศไทยคือ มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ กรีนพีซ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้. โดยมีสำนักงานอยู่ 3 ประเทศคือ ประเทศไทย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ ประเทศฟิลิปปินส์ และ ประเทศอินโดนีเซีย องค์การมีรายได้จากเงินบริจาคจากผู้สนับสนุนทางการเงินรายบุคคลทั่วไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2.8 ล้านรายทั่วโลก รวมทั้งเงินอุดหนุนจากองค์กรการกุศลต่าง แต่ไม่รับเงินช่วยเหลือจากธุรกิจหรือรัฐบาลใด
ยานพาหนะที่กลุ่มกรีนพีซใช้เดินทางไปทั่วโลก คือ เรือ กรีนพีซเป็นเจ้าของเรือเดินสมุทรอยู่ 3 ลำ แต่ลำที่มีชื่อเสียงที่สุดชื่อ เรนโบว์ วอร์ริเออร์ (Rainbow Warrior เรือนักรบสายรุ้ง) ลำที่ใช้ในปัจจุบันเป็นลำที่สอง ลำแรกถูกลอบวางระเบิดและอับปางลงในน่านน้ำประเทศนิวซีแลนด์ ใน พ.ศ. 2538 โดยสายลับของประเทศฝรั่งเศสฝรั่งเศส ขณะรณรงค์ต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใ นหมู่เกาะโพลีนีเซีย เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์นี้ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล และมีใบเช่นเดียวกับเรือสำเภา เพื่อแสดงรูปแบบการประหยัดพลังงานตามแนวคิดหลักของกรีนพีซ
ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ที่กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังดำเนินการรณรงค์ ได้แก่
  • การรณรงค์ต่อต้านถ่านหิน และให้หันมาใช้พลังงานสะอาด เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระดับอันตราย
  • การรณรงค์ต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อโลกที่ปลอดภัยสำหรับทุกชีวิต และมีสันติภาพ
  • การรณรงค์ต่อต้านสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
  • การสนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์
  • การสนับสนุนการผลิตที่สะอาด และปฏิเสธขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • หน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำ (Water Patrol)
  • การสนับสนุนและร่วมกิจกรรมวันปลอดรถ (Bangkok Car Free Day)