ใช้ชีวิตอย่างไร หลังผ่านพ้นภัยน้ำท่วม
วางแผนชีวิต (แบบง่าย ๆ) หลังน้ำท่วม
น้ำก็พัดผ่านไปแล้ว ทิ้งซากความเสียหายไว้มากมาย แล้วเราจะเริ่มลงมือทำอะไรต่อไปก่อนดีล่ะ?
- ขั้นแรก ต้องทำจิตใจให้สงบเสียก่อนค่ะ และพยายามคิดว่า ของที่เสียไปแล้วเราสามารถสร้างมันกลับขึ้นมาใหม่ได้ เพราะเรายังโชคดีที่มีชีวิตอยู่ และมีความสามารถที่จะนำสิ่งต่าง ๆ กลับมาใหม่ ที่สำคัญคือ อย่าพร่ำโทษตัวเองเด็ดขาด เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่มีใครควบคุมได้
- ขั้นที่สอง นั่งจับเข่าคุยกับครอบครัวดูว่าจะทำอะไรกันบ้าง คุยกันแล้วก็จดบันทึกลงในกระดาษ แล้วจัดกลุ่มรายการที่ต้องทำให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับความเร่งด่วนของสิ่งที่ต้องทำ เช่น กินอยู่อย่างไร สุขภาพของคนในครอบครัว บ้านเรือนต้องซ่อมแซมอะไรบ้าง หนี้สินล่ะ
- ขั้นที่สาม เมื่อบันทึกทุกอย่างครบแล้ว ให้เลือกทำในสิ่งที่สามารถทำได้ง่าย และสามารถจัดการด้วยแรงของคนในครอบครัวก่อน เช่น ซ่อมแซมที่พักอาศัย ทำความสะอาดบ้าน จัดเก็บทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ยังพอใช้ได้ แล้วแสวงหาความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือหน่วยงานอื่น
เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว หลายคนอาจจะอยากลุกขึ้นมาซ่อมแซมบ้าน หรือเรือกสวนไร่นาที่เสียหาย หรือออกไปทำงานหาเงินเข้าบ้าน ฯลฯ แต่เราอยากให้คุณฟื้นฟูสภาพจิตใจของตัวเอง และคนในครอบครัวก่อนเป็นลำดับแรกค่ะ เพราะเชื่อว่าหลังเหตุการณ์น้ำท่วม หลายคนอาจมีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ เครียดจัด
ดังนั้น เราต้องดูแล "จิตใจ" ของคนเสียก่อน เพื่อจะได้มีกำลังใจลุกขึ้นมาต่อสู้ไปพร้อม ๆ กันอีกครั้ง ซึ่งวิธีปฏิบัติก็คือ
1. ให้เวลากับครอบครัว เพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
2. พูดคุยปัญหากับเพื่อนและครอบครัว การได้พูดได้ระบายจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด
3. พักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันทางร่างกายลดลง และอาจเกิดโรคทางกายขึ้นได้
4. เอาใจใส่ และเข้าใจเด็กที่มีความตื่นกลัวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ควรตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้ง หรือเกาะผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิตมา
5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนไม่สามารถที่จะรับมือได้
เมื่อดูแลสุขภาพใจของตัวเองและคนในครอบครัวแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาลุกขึ้นมาจับอุปกรณ์ทำความสะอาด และซ่อมแซมบ้านของเรากัน และสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านก็คือ การตรวจสอบความปลอดภัยภายในบ้าน ก่อนเข้าไปซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ฟังข่าวสารว่ามีความปลอดภัยที่จะกลับเข้าไปอยู่ในบ้านหรือไม่
2. ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
3. เดินตรวจตรารอบ ๆ บ้าน และ เช็คสายไฟฟ้า สายถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊สให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
4. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
5. ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
6. ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก่อนไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง และอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ
10. ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
11. เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
12. ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อนํ้า ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์นํ้า และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยนํ้าจากก๊อกนํ้า จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
13. ระบายนํ้าออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันนํ้าภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือพื้นห้องใต้ดิน (ถ้ามี)
14. กำจัดตะกอนที่มาจากนํ้าเนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน
และนี่คือข้อแนวทางดี ๆ ที่กรมสุขภาพจิตได้ให้คำแนะนำไว้ กระปุกดอทคอม ก็ขอให้กำลังใจกับผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน ขอให้มีกำลังใจ และลุกขึ้นสู้ใหม่พร้อม ๆ กับอีกนับล้านคนที่ประสบภัยเช่นเดียวกันค่ะ
น้ำก็พัดผ่านไปแล้ว ทิ้งซากความเสียหายไว้มากมาย แล้วเราจะเริ่มลงมือทำอะไรต่อไปก่อนดีล่ะ?
- ขั้นแรก ต้องทำจิตใจให้สงบเสียก่อนค่ะ และพยายามคิดว่า ของที่เสียไปแล้วเราสามารถสร้างมันกลับขึ้นมาใหม่ได้ เพราะเรายังโชคดีที่มีชีวิตอยู่ และมีความสามารถที่จะนำสิ่งต่าง ๆ กลับมาใหม่ ที่สำคัญคือ อย่าพร่ำโทษตัวเองเด็ดขาด เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่มีใครควบคุมได้
- ขั้นที่สอง นั่งจับเข่าคุยกับครอบครัวดูว่าจะทำอะไรกันบ้าง คุยกันแล้วก็จดบันทึกลงในกระดาษ แล้วจัดกลุ่มรายการที่ต้องทำให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับความเร่งด่วนของสิ่งที่ต้องทำ เช่น กินอยู่อย่างไร สุขภาพของคนในครอบครัว บ้านเรือนต้องซ่อมแซมอะไรบ้าง หนี้สินล่ะ
- ขั้นที่สาม เมื่อบันทึกทุกอย่างครบแล้ว ให้เลือกทำในสิ่งที่สามารถทำได้ง่าย และสามารถจัดการด้วยแรงของคนในครอบครัวก่อน เช่น ซ่อมแซมที่พักอาศัย ทำความสะอาดบ้าน จัดเก็บทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ยังพอใช้ได้ แล้วแสวงหาความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือหน่วยงานอื่น
เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้ว หลายคนอาจจะอยากลุกขึ้นมาซ่อมแซมบ้าน หรือเรือกสวนไร่นาที่เสียหาย หรือออกไปทำงานหาเงินเข้าบ้าน ฯลฯ แต่เราอยากให้คุณฟื้นฟูสภาพจิตใจของตัวเอง และคนในครอบครัวก่อนเป็นลำดับแรกค่ะ เพราะเชื่อว่าหลังเหตุการณ์น้ำท่วม หลายคนอาจมีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ เครียดจัด
ดังนั้น เราต้องดูแล "จิตใจ" ของคนเสียก่อน เพื่อจะได้มีกำลังใจลุกขึ้นมาต่อสู้ไปพร้อม ๆ กันอีกครั้ง ซึ่งวิธีปฏิบัติก็คือ
1. ให้เวลากับครอบครัว เพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
2. พูดคุยปัญหากับเพื่อนและครอบครัว การได้พูดได้ระบายจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด
3. พักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันทางร่างกายลดลง และอาจเกิดโรคทางกายขึ้นได้
4. เอาใจใส่ และเข้าใจเด็กที่มีความตื่นกลัวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ควรตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้ง หรือเกาะผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิตมา
5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนไม่สามารถที่จะรับมือได้
เมื่อดูแลสุขภาพใจของตัวเองและคนในครอบครัวแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาลุกขึ้นมาจับอุปกรณ์ทำความสะอาด และซ่อมแซมบ้านของเรากัน และสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านก็คือ การตรวจสอบความปลอดภัยภายในบ้าน ก่อนเข้าไปซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ฟังข่าวสารว่ามีความปลอดภัยที่จะกลับเข้าไปอยู่ในบ้านหรือไม่
2. ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
3. เดินตรวจตรารอบ ๆ บ้าน และ เช็คสายไฟฟ้า สายถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊สให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
4. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
5. ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
6. ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก่อนไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง และอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ
10. ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
11. เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
12. ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อนํ้า ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์นํ้า และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยนํ้าจากก๊อกนํ้า จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
13. ระบายนํ้าออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันนํ้าภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือพื้นห้องใต้ดิน (ถ้ามี)
14. กำจัดตะกอนที่มาจากนํ้าเนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน
และนี่คือข้อแนวทางดี ๆ ที่กรมสุขภาพจิตได้ให้คำแนะนำไว้ กระปุกดอทคอม ก็ขอให้กำลังใจกับผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน ขอให้มีกำลังใจ และลุกขึ้นสู้ใหม่พร้อม ๆ กับอีกนับล้านคนที่ประสบภัยเช่นเดียวกันค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น