วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันปิยมหาราช

 
พระปิยมหาราช


              พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้

ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช     
ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช

รัชกาลที่ 5

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น  

1.การเลิกทาส

เลิกทาส

เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช"
ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า จะต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาสมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี และพอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง จากนั้นใน พ.ศ.2448 จึงได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" (พ.ศ.2448) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในเวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ

2.การปฏิรูประบบราชการ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน จากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ  

3.การสาธารณูปโภค     
           การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452  

           การคมนาคม วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย

คลอง

นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพาน และถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริมการเพาะปลูก  

           การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2431  

           การไฟฟ้า พระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2433  

           การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ.2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ  

4.การเสด็จประพาส


เสด็จประพาส

การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2440 ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น

ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป

ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ เป็นการตรวจตราสารทุกข์สุขดิบของราษฎรได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์ไปกับเจ้านายและข้าราชการ โดยเสด็จฯ ทางเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อแวะเยี่ยมเยียนตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า "ประพาสต้น" ซึ่งได้เสด็จ 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2447 และในปี พ.ศ.2449 อีกครั้งหนึ่ง


รัชกาลที่ 5


5.การศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

รัชกาลที่ 5


6.การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน

เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม โดยดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่   

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย     
           พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้     
           พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสได้ยึดตราดไว้แทน     
           พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับตราด และเกาะทั้งหลาย แต่การเสียดินแดนครั้งสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส ไม่ต้องไปขึ้นศาลกงสุลเหมือนแต่ก่อน

ส่วนทางด้านอังกฤษ ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ.2454 อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย และยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษ เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทนประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ  

ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น         
           พ.ศ.2411 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  

           พ.ศ.2412 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์  

           พ.ศ.2413 เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา, โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย  

           พ.ศ.2415 ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่, โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน, โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง  

           พ.ศ.2416 ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี, โปรดให้เลิกประเพณีหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า  

           พ.ศ.2417 โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน, ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง  

           พ.ศ.2424 เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯ–สมุทรปราการ, สมโภชพระนครครบ 100 ปี มีการฉลอง 7 คืน 7 วัน  

           พ.ศ.2426 โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนคร, ตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2  

           พ.ศ.2427 โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม  

           พ.ศ.2429 โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน  

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส, เริ่มการทดลองปกครองส่วนกลางใหม่, เปิดโรงพยาบาลศิริราช, โปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน  

           พ.ศ.2434 ตั้งกระทรวงยุติธรรม, ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา  

           พ.ศ.2436 ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ, กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)  

           พ.ศ.2440 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก  

           พ.ศ.2445 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส  

           พ.ศ.2448 ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง  

           พ.ศ.2451 เปิดพระบรมรูปทรงม้า  

           พ.ศ.2453 เสด็จสวรรคต  

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้า
พระบรมรูปทรงม้า

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างอนุสาวรีย์ถวายเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ผู้ทรงสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม และเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์นานถึง 40 ปี
พระบรมรูปทรงม้านี้ หล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระองค์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมามีรั้วเตี้ยๆ ลักษณะเป็นสายโซ่ขึงระหว่างเสาล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ที่แท่นด้านหน้ามีคำจารึกบนแผ่นโลหะติดประดับสรรญเสริญว่า "คำจารึกฐานองค์พระบรมรูปทรงม้า ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 2451พรรษา จำเดิมแต่พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ได้ประดิษฐาน แลดำรงกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยาเป็นปีที่ 127 โดยนิยม"

สำหรับแบบรูปของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ได้จ้างช่างหล่อชาวฝรั่งเศส แห่งบริษัทซูซ เซอร์เฟรส ฟองเดอร์เป็นผู้หล่อ ณ กรุงปารีส เลียนแบบพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2450 พระองค์ได้เสด็จประทับให้ช่างปั้นพระบรมรูป เมื่อวันที่ 22 สิงหคม ศกนั้น พระบรมรูปเสร็จเรียบร้อย และส่งเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ในทางเรือ

เมื่อ พ.ศ.2451 โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ระหว่างพระราชวังสวนอัมพรกับบสนามเสือป่า ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451 ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกครองราชสมบัติได้ 40 ปี
เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้า ขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองที่หน้าพระลานพระราชวังดุสิต ที่ประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล เสร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระบรมรูปทรงม้า กราบบังคมทูลอัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช พระราชบิดาให้ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อประกาศเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้สถิตสถาพรปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน  

กิจกรรมใน วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช

ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน นักเรียน-นิสิตนักศึกษา รวมทั้งประชาชนจะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำบุญตักบาตอุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ในหน่วยงาน และโรงเรียน มหาวิทยาลัย จะจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Herman Melville

 
 
 
 

                     Herman Melville (August 1, 1819 – September 28, 1891) was an American novelist, short story writer, essayist, and poet. He is best known for his novel Moby-Dick. His first three books gained much contemporary attention (the first, Typee, becoming a bestseller), and after a fast-blooming literary success in the late 1840s, his popularity declined precipitously in the mid-1850s and never recovered during his lifetime.
          When he died in 1891, he was almost completely forgotten. It was not until the "Melville Revival" in the early 20th century that his work won recognition, especially Moby-Dick, which was hailed as one of the literary masterpieces of both American and world literature. He was the first writer to have his works collected and published by the Library of America.

Biography
Early life, education, and family
Herman Melville was born in New York City on August 1, 1819,the third of eight children of Allan and Maria Gansevoort Melvill. After her husband Allan died, between 1832 and 1834, Maria added an "e" to the family surname — seemingly at the behest of her son Gansevoort.Part of a well-established and colorful Boston family, Melville's father spent a good deal of time abroad as a commission merchant and an importer of French dry goods.
         The author's paternal grandfather, Major Thomas Melvill, was an honored participant in the Boston Tea Party. Thomas Melvill, who refused to change the style of his clothing or manners to fit the times, was depicted in Oliver Wendell Holmes's poem "The Last Leaf". Melville visited him in Boston, and his father turned to him in his frequent times of financial need.
         The maternal side of Melville's family was Hudson Valley Dutch. His maternal grandfather was General Peter Gansevoort, a hero of the Battle of Saratoga; in his gold-laced uniform, the general sat for a portrait painted by Gilbert Stuart, which is described in Melville's 1852 novel, Pierre, for Melville wrote out of his familial as well as his nautical background. Like the titular character in Pierre, Melville found satisfaction in his "double revolutionary descent."
Allan Melvill sent his sons to the New York Male School (Columbia Preparatory School).                  Overextended financially and emotionally unstable, Allan tried to recover from his setbacks by moving his family to Albany in 1830 and going into the fur business. The new venture, however, was unsuccessful; the War of 1812 had ruined businesses that tried to sell overseas and he was forced to declare bankruptcy. He died soon afterward, leaving his family penniless, when Herman was 12.
     Although Maria had well-off kin, they were concerned with protecting their own inheritances and taking advantage of investment opportunities rather than settling their mother's estate so Maria's family would be more secure with Herman's younger brother, Thomas Melville, who eventually became a governor of Sailors Snug Harbor.
     Melville attended the Albany Academy from October 1830 to October 1831, and again from October 1836 to March 1837, where he studied the classics.

Early working life

          Melville's roving disposition and a desire to support himself independently of family assistance led him to seek work as a surveyor on the Erie Canal. This effort failed, and his brother helped him get a job as a "boy"(a green hand) on a New York ship bound for Liverpool. He made the voyage, and returned on the same ship. Redburn: His First Voyage (1849) is partly based on his experiences of this journey.
File:Herman Melville 1846-47.jpg

         The three years after Albany Academy (1837 to 1840) were mostly occupied with teaching school, except for the voyage to Liverpool in 1839. From 1838 to 1847, he resided at what is now known as the Herman Melville House in Lansingburgh, New York.Near the end of 1840 he once again decided to sign ship's articles.Travels in the Pacific (1841-45)
         On January 3, 1841, he sailed from Fairhaven, Massachusetts on the whaler Acushnet,which was bound for the Pacific Ocean. He was later to comment that his life began that day. The vessel sailed around Cape Horn and traveled to the South Pacific. Melville left little direct information about the events of this 18-month cruise, although his whaling romance, Moby-Dick; or, The Whale, probably gives many pictures of life on board the Acushnet. Melville deserted the Acushnet in the
Marquesas Islands in July 1842.
         For three weeks he lived among the Typee natives, who were called cannibals by the two other tribal groups on the island—though they treated Melville very well. Typee, Melville's first novel, describes a brief love affair with a beautiful native girl, Fayaway, who generally "wore the garb of Eden" and came to epitomize the guileless noble savage in the popular imagination.
         Melville did not seem to be concerned about repercussions from his desertion from the Acushnet. He boarded an Australian whaleship, the Lucy Ann, bound for Tahiti; took part in a mutiny and was briefly jailed in the native "Calabooza Beretanee". After release he spent several months as beachcomber and island rover (Omoo in Tahitian) eventually crossing over to Moorea. He then signed articles on yet another whaler for a six-month cruise (November 1842 − April 1843) and left that ship in Honolulu.
         While in Hawaii he became a controversial figure for his vehement opposition to the activities of Christian missionaries seeking to convert the native population. After working as a clerk for four months, he joined the crew of the frigate USS United States, which reached Boston in October 1844. These experiences were described in Typee, Omoo, and White-Jacket, which were published as novels mainly because few believed their veracity.
         Melville completed Typee in the summer of 1845, though he had difficulty getting it published.It was eventually published in 1846 in London, where it became an overnight bestseller. The Boston publisher subsequently accepted Omoo sight unseen. Typee and Omoo gave Melville overnight renown as a writer and adventurer, and he often entertained by telling stories to his admirers. As writer and editor Nathaniel Parker Willis wrote, "With his cigar and his Spanish eyes, he talks Typee and Omoo, just as you find the flow of his delightful mind on paper".
         The novels, however, did not generate enough royalties for him to live on. Omoo was not as colorful as Typee, and readers began to realize Melville was not just producing adventure stories. Redburn and White-Jacket had no problem finding publishers. Mardi was a disappointment for readers who wanted another rollicking and exotic sea yarn.

Marriage and later working life
     Melville married Elizabeth Shaw, daughter of chief justice of the Massachusetts Supreme Judicial Court Lemuel Shaw, on August 4, 1847; the couple honeymooned in Canada.They had four children: two sons and two daughters. In 1850 they purchased Arrowhead, a farm house in Pittsfield, Massachusetts, now a museum. Here Melville lived for 13 years, occupied with his writing and managing his farm.
     While living at Arrowhead, he befriended the author, Nathaniel Hawthorne, who lived in nearby Lenox. Melville was tremendously inspired and encouraged by his new relationship with Hawthorneduring the period that he was writing Moby-Dick (dedicating it to Hawthorne), though their friendship was on the wane only a short time later, when he wrote Pierre there. However, these works did not achieve the popular and critical success of his earlier books. Indeed, The New York Day Book on September 8, 1852, published a venomous attack on Melville and his writings headlined HERMAN MELVILLE CRAZY. The item, offered as a news story, reported, "A critical friend, who read Melville's last book, 'Ambiguities," between two steamboat accidents, told us that it appeared to be composed of the ravings and reveries of a madman. We were somewhat startled at the remark, but still more at learning, a few days after, that Melville was really supposed to be deranged, and that his friends were taking measures to place him under treatment. We hope one of the earliest precautions will be to keep him stringently secluded from pen and ink."
      Following this and other scathing reviews of Pierre by critics, publishers became wary of Melville's work. His publisher, Harper & Brothers, rejected his next manuscript, Isle of the Cross, which has been lost. On April 1, 1857, Melville published his last full-length novel, The Confidence-Man. This novel, subtitled "His Masquerade", has won general acclaim in modern times as a complex and mysterious exploration of issues of fraud and honesty, identity and masquerade, but when it was published, it received reviews ranging from the bewildered to the denunciatory.
     To repair his faltering finances, Melville listened to the advice of friends and decided to enter what was for others the lucrative field of lecturing. From 1857 to 1860, he spoke at lyceums, chiefly on Roman statuary and sightseeing in Rome.Turning to poetry, he gathered a collection of verse that failed to interest a publisher. In 1863, he and his wife resettled, with their four children, in New York City. After the end of the American Civil War, he published Battle Pieces and Aspects of the War, (1866) a collection of over 70 poems that generally was ignored by the critics, though a few gave him patronizingly favorable reviews. In 1866, Melville's wife and her relatives used their influence to obtain a position for him as customs inspector for the City of New York (a humble but adequately paying appointment), and he held the post for 19 years. In a notoriously corrupt institution, Melville soon won the reputation of being the only honest employee of the customs house.But from 1866, his professional writing career can be said to have come to an end.

Later years
         Melville spent years writing a 16,000-line epic poem, Clarel, inspired by his earlier trip to the Holy Land. His uncle, Peter Gansevoort, by a bequest, paid for the publication of the massive epic in 1876. But the publication failed miserably, and the unsold copies were burned when Melville was unable to afford to buy them at cost.
         As his professional fortunes waned, Melville's marriage was unhappy. Elizabeth's relatives repeatedly urged her to leave him, and offered to have him committed as insane, but she refused. In 1867, his oldest son, Malcolm, shot himself, perhaps accidentally. While Melville worked, his wife managed to wean him off alcohol, and he no longer showed signs of agitation or insanity. But recurring depression was added to by the death of his second son, Stanwix, in San Francisco early in 1886. Melville retired in 1886, after several of his wife's relatives died and left the couple legacies that Mrs. Melville administered with skill and good fortune.
         As English readers, pursuing the vogue for sea stories represented by such writers as G. A. Henty, rediscovered Melville's novels, he experienced a modest revival of popularity in England, though not in the United States. Once more he took up his pen, writing a series of poems with prose head notes inspired by his early experiences at sea. He published them in two collections, each issued in a tiny edition of 25 copies for his relatives and friends: John Marr(1888) and Timoleon (1891).
         One of these poems further intrigued him, and he began to rework the headnote to turn it into first a short story and then a novella. He worked on it on and off for several years, but when he died in September 1891, he left the piece unfinished, and not until the literary scholar Raymond Weaver published it in 1924 did the book – which is now known as Billy Budd, Sailor – come to light.

Death (1891)
         Melville died at his home in New York City early on the morning of September 28, 1891, age 72. The doctor listed "cardiac dilation" on the death certificate.He was interred in the Woodlawn Ceme in The Bronx, New York. A common story says that his New York Times obituary called him "Henry Melville", implying that he was unknown and unappreciated at his time of death, but the story is not true. A later retrospective article did appear on October 6 in the same paper referring to him as "the late Hiram Melville", but this appears to have been a typesetting error.
         From about age 35, Melville ceased to be popular with a broad audience because of his increasingly philosophical, political and experimental tendencies. His novella Billy Budd, Sailor, unpublished until 33 years after the author's death, was later turned into a play, an opera by Benjamin Britten and a film by Peter Ustinov.

Publications and contemporary reactions
         Most of Melville's novels were published first in the United Kingdom and then in the U.S. Sometimes the editions contain substantial differences with Melville acceding to his different publishers' requirements for different audiences.
         Moby-Dick; or, The Whale was dedicated to Melville's friend Nathaniel Hawthorne.It did not, however, make Melville rich. The book never sold its initial printing of 3,000 copies in his lifetime, and total earnings from the American edition amounted to just $556.37 from his publisher, Harper & Brothers. Melville also wrote Billy Budd, White-Jacket, Israel Potter, Redburn, Typee, Omoo, Pierre, The Confidence-Man and many short stories, including "Bartleby, the Scrivener: A Story of Wall Street" and "Benito Cereno," and works of various genres.
         Melville is less well known as a poet and did not publish poetry until later in life. After the Civil War, he published Battle Pieces and Aspects of the War, which did not sell well; of the Harper & Bros. printing of 1200 copies, only 525 had been sold ten years later.Again tending to outrun the tastes of his readers, Melville's epic length verse-narrative Clarel, about a student's pilgrimage to the Holy Land, was also quite obscure, even in his own time. Among the longest single poems in American literature, Clarel, published in 1876, had an initial printing of only 350 copies. The critic Lewis Mumfod found a copy of the poem in the New York Public Library in 1925 "with its pages uncut"—in other words, it had sat there unread for 50 years.
         His poetry is not as highly critically esteemed as his fiction, although some critics place him as the first modernist poet in the United States; others would assert that his work more strongly suggest what today would be a postmodern view.A leading champion of Melville's claims as a great American poet was the poet and novelist Robert Penn Warren, who issued a selection of Melville's poetry prefaced by an admiring and acute critical essay. According to Melville scholar Elizabeth Renker "a sea change in the reception of the poems is incipient."In reference to the poem Clarel, poetry critic Helen Vendler remarked: "What it cost Melville to write this poem makes us pause, reading it. Alone, it is enough to win him, as a poet, what he called 'the belated funeral flower of fame'".

Critical response
Contemporary criticism
     Melville was not financially successful as a writer, having earned just over $10,000 for his writing during his lifetime.

Melville revival

     A confluence of publishing events in the 1920s brought about a reassessment now commonly called "the Melville Revival". The two books generally considered most important to the Revival were Raymond Weaver's 1921 biography Herman Melville: Man, Mariner and Mystic and his 1924 edition of Melville's last great but never quite finished manuscript, Billy Budd, which Melville's granddaughter gave to Weaver when he visited her for research on the biography. The other works that helped fan the Revival flames were Carl Van Doren's The American Novel (1921), D. H. Lawrence's Studies in Classic American Literature (1923), Carl Van Vechten's essay in The Double Dealer (1922), and Lewis Mumford's biography, Herman Melville: A Study of His Life and Vision (1929).
     In 1945, the Melville Society was formed as a nonprofit organization dedicated to celebrating Melville’s literary legacy.Jay Leyda, better known for his work in film, spent more than a decade gathering documents and records for the day by day Melville Log (1951). In the same year Newton Arvin published the critical biography Herman Melville, which won the nonfiction National Book Award.
     In the 1960s, Northwestern University Press, in alliance with the Newberry Library and the Modern   Language Association, established ongoing publication runs of Melville's various titles.This alliance sought to create a "definitive" edition of Melville's works. Titles republished under the Northwestern-Newberry Library include Typee, Piazza Tales and Other Prose Pieces, Omoo, Israel Potter, Pierre or the Ambiguities, Confidence-Man, White Jacket or the World in a Man-of-War, Moby Dick, Mardi and a Voyage Thither, Redburn, Clarel, as well as several volumes of Melville's poems, journals, and correspondence.

Gender studies revisionism

     Although not the primary focus of Melville scholarship, there has been an emerging interest in the role of gender and sexuality in some of Melville's writings.Some critics, particularly those interested in gender studies, have explored the existence of male-dominant social structures in Melville's fiction.For example, Alvin Sandberg claimed that the short story "The Paradise of Bachelors and the Tartarus of Maids" offers "an exploration of impotency, a portrayal of a man retreating to an all-male childhood to avoid confrontation with sexual manhood" from which the narrator engages in "congenial" digressions in heterogeneity.In line with this view Warren Rosenberg argues the homosocial "Paradise of Bachelors" is shown to be "superficial and sterile."
     David Harley Serlin observes in the second half of Melville's diptych, "The Tartarus of Maids," the narrator gives voice to the oppressed women he observes: "As other scholars have noted, the "slave" image here has two clear connotations. One describes the exploitation of the women's physical labor, and the other describes the exploitation of the women's reproductive organs. Of course, as models of women's oppression, the two are clearly intertwined."
     In the end the narrator is never fully able to come to terms with the contrasting masculine and feminine modalities. Issues of sexuality have been observed in other works as well. Rosenberg notes Taji, in "Mardi", and the protagonist in "Pierre" "think they are saving young "maidens in distress" (Yillah and Isabel) out of the purest of reasons but both are also conscious of a lurking sexual motive."When Taji kills the old priest holding Yillah captive, he states "remorse smote me hard; and like lightning I asked myself whether the death deed I had done was sprung of virtuous motive, the rescuing of a captive from thrall, or whether beneath the pretense I had engaged in this fatal affray for some other selfish purpose, the companionship of a beautiful maid."
     In "Pierre" the motive for his self-sacrifice for Isabel is admitted: "womanly beauty and not womanly ugliness invited him to champion the right." Rosenberg argues "This awareness of a double motive haunts both books and ultimately destroys their protagonists who would not fully acknowledge the dark underside of their idealism. The epistemological quest and the transcendental quest for love and belief are consequently sullied by the erotic."
     Melville fully explores the theme of sexuality in his major poetical work "Clarel." When the narrator is separated from Ruth, with whom he has fallen in love, he is free to explore other sexual (and religious) possibilities before deciding at the end of the poem to participate in the ritualistic order marriage represents. In the course of the poem "he considers every form of sexual orientation - celibacy, homosexuality, hedonism, and heterosexuality - raising the same kinds of questions as when he considers Islam or Democracy."
     Some passages and sections of Melville's works demonstrate his willingness to address all forms of sexuality, including the homoerotic, in his works. Commonly given examples from Moby Dick are the interpretation of male bonding from what is termed the "marriage bed" episode involving Ishmael and Queequeg, and the "Squeeze of the Hand" chapter describing the camaraderie of sailors extracting spermaceti from a dead whale. Billy Budd's physical attractiveness is described in quasi-feminine terms: "As the Handsome Sailor, Billy Budd's position aboard the seventy-four was something analogous to that of a rustic beauty transplanted from the provinces and brought into competition with the highborn dames of the court." Some critics argue that "Ahab's pursuit of the whale, which they suggest can be associated with the feminine in its shape, mystery, and in its naturalness, represents the ultimate fusion of the epistemological and sexual quest."

Law and literature

           In recent years, Billy Budd has become a central text in the field of legal scholarship known as law and literature. In the novel, Billy, a handsome and popular young sailor impressed from the merchant vessel Rights of Man to serve aboard H.M.S. Bellipotent in the late 1790s, during the war between Revolutionary France and Great Britain and her monarchic allies, excites the enmity and hatred of the ship's master-at-arms, John Claggart. Claggart devises phony charges of mutiny and other crimes to level against Billy, and Captain the Honorable Edward Fairfax Vere institutes an informal inquiry, at which Billy convulsively strikes Claggart because his stammer prevents him from speaking.
         Vere immediately convenes a drumhead court-martial, at which, after serving as sole witness and as Billy's de facto counsel, Vere then urges the court to convict and sentence Billy to death. The trial is recounted in chapter 21, the longest chapter in the book, and that trial has become the focus of scholarly controversy: was Captain Vere a good man trapped by bad law, or did he deliberately distort and misrepresent the applicable law to condemn Billy to death?

Legacy
         On May 12, 1985, the New York City Herman Melville Society gathered at 104 East 26th Street to dedicate the intersection of Park Avenue south and 26th Street as Herman Melville Square. This is the street where Melville lived from 1863 to 1891 and where, among other works, he wrote Billy Budd.
         In 2010 it was announced that a new species of extinct giant sperm whale, Livyatan melvillei was named in honor of Melville. The paleontologists who discovered the fossil were all fans of Moby-Dick and wanted to dedicate their discovery to Melville.

 

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Winsor McCay



                        Winsor Zenic McCay (September 26, 1869 – July 26, 1934) was an American cartoonist and animator, best known for the comic strip Little Nemo(begun 1905) and the animated cartoonGertie the Dinosaur (1914). For legal reasons, he worked under the pen name Silas on the comic strip Dream of the Rarebit Fiend.
A prolific artist, McCay's pioneering early animated films far outshone the work of his contemporaries, and set a standard followed by Walt Disney and others in later decades. His comic strip work has influenced generations of artists, including creators such as William Joyce, André LeBlanc, Moebius, Maurice Sendak, Chris Ware and Bill Watterson



Eariy  life
Winsor Zenic McCay was born in Spring Lake, Michigan, perhaps on 26 September 1869 (this date, found on his tombstone, is debated—his New York Times obituary states 1871). He was the son of Robert McKay (later changed to McCay) and Janet Murray McKay; Robert at various times worked as a teamster, a grocer, and a real estate agent. Winsor's exact place and year of birth are uncertain — he claimed to have been born in Spring Lake, Michign in 1871, but his gravestone says 1869, and census reports state that he was born in Canada in 1867. He was originally named Zenas Winsor McKay, in honor of his father's employer, Zenas G. Winsor. He later dropped the name Zenas.
In 1886, McCay's parents sent him to Cleary's Business College in Ypsilanti, Michigan to learn to be a businessman. While in Ypsilanti, he also received his only formal art training, from John Goodison of Michigan State Normal College (now known as Eastern Michigan University). Goodison taught him the strict application of the fundamentals of perspective, which he put to significant use later in his career. Goodison, formerly a glass stainer, also influenced McCay's bold use of color

Career
In 1889, McCay moved to Chicago, intending to study at the Art Institute of Chicago, but due to lack of money had to find employment instead. He worked for the National Printing and Engraving Company, producing woodcuts for circus and theatrical posters. Two years later, he moved to Cincinnati, Ohio and went to work as an artist for Kohl and Middleton's Vine Street Dime Museum. While in Cincinnati he married Maude Leonore Dufour. McCay began doing vaudeville chalk talks in 1906.In his The Seven Ages of Man vaudeville act, he drew two faces and progressively aged them.
McCay's first major comic strip series was A Tale of the Jungle Imps by Felix Fiddle with 43 installments published from January to November 1903 in the Cincinnati Enquirer. The strip was based on poems by George Randolph Chester, then a reporter and editor at the Enquirer. The stories concerned jungle creatures and the ways that they adapted to a hostile world, with individual titles such as How the Elephant Got His Trunk and How the Ostrich Got So Tall.

                                          
                 His strips Little Nemo and Dream of the Rarebit Fiend, published under the pseudonym "Silas",were both set in the dreams of their characters and featured fantasy art that attempted to capture the look and feel of dreams. McCay's cartoons were never overwhelmingly popular, but always had a strong following because of his expressive graphic style. Newspaper pages were physically much larger in that time and McCay usually had a half a page to work with. For fantasy art in comics, his only rival was Lyonel Feininger, who went on to have a career in the fine arts after his comics days were over.
McCay also created a number of animated short films, in which every single frame of each cartoon (with each film requiring thousands of frames) was hand-drawn by McCay and occasionally his assistants. McCay went on vaudevile tours with his films. He presented lectures and did drawings; then he interacted with his animated films, performing such tricks as holding his hand out to "pet" his animated creations.
                The star of McCay's groundbreaking animated film Gertie the Dinosaur is classified by film and animation historians as the first cartoon character created especially for film to display a unique, realistic personality. In the film, Gertie causes trouble and cries when she is scolded, and finally she gives McCay himself a ride on her back as he steps into the movie picture.
In addition to a series of cartoons based on his popular "rarebit" gags, McCay also created The Sinking of the Lusitania, a depiction of the attack on the maritime ship. The propaganda cartoon contained a message that was meant to inspire America to enter World War I.

Death and legacy
McCay died in July 26, 1934 of a cerebral embolism,and was buried at the Cemetery of the Evergrees in Brooklyn.
             In 1966 Woody Geln discovered many of the original Little Nemo strips at a cartoon studio where Bob McCay, Winsor's son, had worked. Many of the original drawings that Gelman recovered were displayed at the Metropolitan Museum of Art under the direction of curator A. Hyatt Mayor. In 1973, Gelman would publish a collection of Little Nemo strips in Italy.

 

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Vitamin :)

           
                     

                วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในบริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด
วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก คือ
  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A, D, E, K
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ B, C

ประโยชน์ของวิตามิน
  • วิตามินเอ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตาบอด บำรุงสายตา บำรุง ผม และเล็บ
  • วิตามินบี1 บำรุงประสาท แก้เหน็บชา ช่วยเผาพลาญคาร์โบไฮเดรต ไปเป็นพลังงาน ถ้าขาดจะหงุดหงิดง่าย
  • วิตามินบี2 ช่วยเผาพลาญคาร์โบไฮเดรต ถ้าขาดจะเป็นแผลที่มุมปาก ผิวจะแตกหยาบกระด้าง
  • วิตามินบี3 ช่วยเผาพลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรต บำรุงผิวหนังและระบบประสาท
  • วิตามินบี5 ช่วยเผาพลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด นอนไม่หลับ
  • วิตามินบี6 ช่วยบรรเทาอาการก่อนจะมีประจำเดือน แก้แพ้ท้อง บำรุงประสาท ลดอาการไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • วิตามินบี12 ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือด บำรุงประสาท ป้องกันอาการอ่อนเพลีย เนื่องจากโรคโลหิตจาง
  • กรดโฟลิก ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เสริมความจำ โฟเลท ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ และมะเร้งเต้านม ถ้าในเลือดมีโฟเลทต่ำ ทำให้จิตใจหดหู่ ขาดความรู้สึกทางเพศ
  • วิตามินซี ต้านอนุมูลอิสระ สร้างคอลลาเจน ช่วยควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล บำรุงผิวพรรณและกระดูก ป้องกันโรคมะเร็ง ลดอาการภูมิแพ้ ช่วยบรรเทาอาการหวัด
  • วิตามินดี บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ทำหน้าที่ควบคุมการดูดซึมแคลเซียม
  • วิตามินอี ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • วิตามินเค ช่วยการแข็งตัวของเลือด


  • วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

    Marilyn Monroe

     


                     มาริลิน มอนโร คำว่ามาริลีนมาจากชื่อของดาราละครเพลงยุค 20 คือ มาริลีน มิลเลอร์ ส่วนมอนโร มาจากนามสกุลเดิมของคุณยายของเธอ จีน นอร์แมน คือชื่อที่มาริลีน ใช้ขณะเป็นนางแบบมาริลิน มีมารดาเป็นโรคทางประสาท บิดาสาบสูญ เป็นเหตุให้ชีวิตช่วงวัยเด็กต้องอาศัยอยู่ตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เมื่อตอนอายุ 12 ปีเธอค้นพบว่าต้วเองมีแรงดึงดูดทางเพศอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งที่เธอสวมสเวตเตอร์พร้อมกับทาลิปสติกเป็นครั้งแรกไปโรงเรียน เธอเล่าว่าเมื่อเธอเดินเข้าไปในโรงเรียน นักเรียนชายต่างก็มองเธอเป็นตาเดียว บางคนก็ผิวปาก และบางคนก็เข้ามาหาเธอก็มี ในขณะที่นักเรียนหญิงต่างก็มองเธอด้วยความสนใจ และอิจฉาเธอ

                      เมื่ออายุ 16 ปี จึงเริ่มอาชีพนางแบบ ต่อมาก็เริ่มแสดงภาพยนตร์ซึ่งล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย ภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes (1953) เธอได้ค่าตัวอาทิตย์ละ 500 เหรียญ ในขณะที่ เจน รัสเซล ดารานำอีกคนได้ 200,000 เหรียญสำหรับภาพยนตร์ 1 เรื่อง แต่ตัวหนังทำเงินถล่มถลายและมาริลีนกลายเป็นดาราดังไปในทันที ในฉากที่เธอร้องเพลง Diamonds Are A Girls's Bestfriend ที่ต่อมาถูกมาดอนน่านำมาทำเลียนแบบในมิวสิกวิดีโอเพลง Material Girl ก็นำมาจากภาพยนตร์เรื่องนี้ภาพยนตร์เรื่อง The Seven Year Itch (1955) มีฉากที่เป็นอมตะของเธอที่ถูกลมพัดจนกระโปรงขึ้นมา จากฉากนี้เป็นเรื่องราวทำให้เธอหย่ากับสามี (โจ ดิแมกจิโอ นักเบสบอลชื่อดัง)

    ผลงานเพลง
    นอกจากบทบาทการแสดงแล้วในภาพยนตร์แทบทุกเรื่องมักจะมีฉากที่ มาริลีน ร้องเพลงอยู่ด้วยเสมอ และเธอมักจะถูกพูดถึงเสมอในฉากร้องเพลง มาริลีนเคยให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งที่ทำให้เธอมั่นใจที่สุดในการแสดงอย่างใดๆ ก็แล้วแต่ การร้องเพลงและการแสดงประกอบเป็นสิ่งที่เธอถนัดที่สุด

     
       นอร์มา จีน เบเกอร์ สมัยที่ยังไม่สวยโฉบเฉี่ยว
     
    เธอได้โชว์เสียงเป็นครั้งแรกกับเพลง Every Baby Needs A Da Da Daddy และ Anyone Can Tell I Love You ในภาพยนตร์เรื่อง La-dies Of The Chorus (พ.ศ. 2491) และในปี พ.ศ. 2493 กับ Oh,What A Forward Young Man You Are ในภาพยนตร์เรื่อง A Ticket To Tomahawk ซึ่งมาริลีนแสดงเป็นแค่ตัวประกอบ 1 ใน 3 สาวคอรัส ส่วนฉากที่เรียกได้ว่าทำให้ มาริลีน เริ่มกลายเป็น Sex symbol ส่วนนึงมาจากภาพยนตร์เรื่อง Niagara (1953) ต่อมาเธอได้ร้องเพลง Two Littles Girls From Little Rock, Bye Bye Baby และ When Love Goes Wrong (Nothing Goes Right) ในภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes และต่อมาเพลงที่ถูกมาดอนน่าเลียนแบบไปใน Diamonds Are A Girls's Bestfriend และฉากที่ไม่มีใครลืมเธอเมื่อมาริลีน ร้องเพลง River Of No return กับเปียโนกับชื่อหนังเรื่องเดียวกันในปี 1954
    และผลงานนอกจอคือการที่เธอไปร้องเพลง Happy Birthday To You ให้กับประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี ที่เมดิสัน สแควร์ การ์เด็น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้คน

    มาริลิน มอนโร เสียชีวิตที่ แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา โดยแม่บ้านของมอนโรชื่อ ยูนิส มูร์เรย์ เป็นผู้พบเห็น เสียชีวิตเนื่องจากการใช้ยาเกินขนาด

    วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

    Niels Henrick David Bohr

    นีลส์ บอร์

                          นีลส์ บอร์มีชื่อเต็มๆว่า นีลส์ เฮนริค เดวิด นีลส์ บอร์ (Niels Henrick David Bohr) เขาเกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885 ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก บิดาของเขาชื่อว่า คริสเตียน นีลส์ บอร์ (Christian Bohr) เป็นศาสตราจารย์ทางสรีรวิทยา ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Copenhagen University) ส่วนมารดาคือ อัลเลน นีลส์ บอร์ (Allen Bohr) ซึ่งเป็นบุตรสาวของคหบดีที่มั่งคั่งแห่งเมือง การที่นีลส์ บอร์เกิดมาในตระกูลที่มั่งคั่งทำให้นีลส์ บอร์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดีมาก หลังจากที่เขาจบการศึกษาเบื้องต้นในปี ค.ศ.1903 นีลส์ บอร์ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน หลังจากที่เขาจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มากมายหลายเรื่อง   โดยนีลส์ บอร์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปีค.ศ.1907 เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อจัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ หลังจากที่เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว นีลส์ บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้พบกันเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John Thompson) ทั้งสองยังได้ร่วมมือกันทำการทดลองค้นคว้าในห้องทดลองคาเวนดิช มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปีต่อมาเขาได้ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ในธาตุในก็ตามแกนกลางของธาตุยังมีจำนวนโปรตอนเหมือนกันทั้งสิ้น และจำนวนอะตอมเหล่านี้ เรียกว่า "จำนวนอะตอมของธาตุ" และธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากที่สุด คือ ธาตุยูเรเนียม แต่ไม่ทันที่จะก้าวหน้าไปมากกว่านี้รัทเธอร์ฟอร์ดก็เสียชีวิตไปก่อนการค้นคว้าครั้งนี้ก็นับว่ามีประโยชน์อย่างมากมหาศาลแล้ว จากนั้นนีลส์ บอร์ได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่ประเทศเดนมาร์ก พร้อมกับภรรยามากาเร็ต ฮอร์แลนด์ (Magarethe Horland) ที่เพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน
    Niels Bohr Photo

                     หลังจากที่นีลส์ บอร์เดินทางถึงบ้านในปี ค.ศ.1913 เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์วิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน แต่เขาทำงานอยู่ได้ไม่นานก็เดินทางกลับประเทศอังกฤษ และเดินทางกลับประเทศเดนมาร์กอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1916 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และต่อมาในปี ค.ศ.1920 นีลส์ บอร์ได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าทฤษฎีฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน นอกจากนี้เขายังได้รับการสนับสนุนด้านการเงินในการค้นคว้าทดลองอีกด้วยในปี ค.ศ.1922 นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการค้นคว้าด้านอะตอมในเวลาต่อมา และในปีเดียวกัน เขาได้เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า โครงสร้างของอะตอมและการแผ่รังสี (The Theory of Spectra and Atomic Constitution) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานการค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม โดยนีลส์ บอร์ได้อธิบายว่า โครงสร้างของอะตอมก็เช่นเดียวกันกับโครงสร้างของระบบสุริยจักรวาล คือระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ส่วนอะตอมมีนิวเคลียสเป็นศูนย์กลาง ส่วนอิเล็กตรอนก็หมุนรอบนิวเคลียส เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ที่ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้นีลส์ บอร์ยังเป็นผู้อธิบายเกี่ยวกับการค้นพบกัมมันตภาพรังสี และทฤษฎีควอนตัมซึ่งแมกซ์ แพลงค เป็นผู้ค้นพบ แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนเท่าไรนัก เมื่อนีลส์ บอร์นำมาอธิบายทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
    ในปลายปี ค.ศ.1938 นีลส์ บอร์ได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อพบกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทั้งนี้เขาต้องการปรึกษาหารือ และทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งไอน์สไตน์ก็เห็นดีด้วย ทั้งสองจึงร่วมมือกันทำการทดลองขึ้นที่ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน แต่การทดลองของทั้งสองก็เป็นอันยุติลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นโอกาสดีในทางหนึ่งเนื่องจากในเดือนมกราคม ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์อพยพมาจากยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางสงคราม เข้ามาในประเทศอเมริกาจำนวนมาก ในระหว่างนี้นีลส์ บอร์ได้ เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมืองนิวยอร์ค ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำให้นีลส์ บอร์มีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานที่เขาเพิ่งค้นพบให้กับนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายได้มีโอกาสได้รับรู้ เกี่ยวกับทฤษฎีการแตกตัวของอะตอม ซึ่งเป็นการแตกตัวของอะตอมของยูเรเนียม ซึ่งทฤษฎีนี้ได้นำไปใช้ในการสร้าง ระเบิดปรมาณู ในปีค.ศ.1940 ภาวะสงครามกำลังตึงเครียดอย่างหนัก แต่นีลส์ บอร์ก็ยังเดินทางกลับบ้านที่ประเทศเดนมาร์กเพื่อเยี่ยมเยียนครอบครัว พอดีกับกองทัพนาซีแห่งเยอรมนีได้ยกทัพเข้ายึกประเทศเดนมาร์ก นีลส์ บอร์ต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะหลบหนีออกจากเดนมาร์กมายังประเทศอังกฤษ โดยความช่วยเหลือของนายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น จากนั้นเขาได้เดินทางต่อไปยังประเทศสหรัฐฯ และเมื่อมาถึงเขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการอะตอมแห่อลาโมร์ รัฐนิวเมกซิโก ต่อมาในปี ค.ศ.1945 ระเบิดปรมาณูลูกแรกได้ทำการทดลองเป็นผลสำเร็จ จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงที่จะทิ้งระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นเพื่อเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อนีลส์ บอร์ได้ทราบข่าว เขาได้เดินทางไปยังเมืองนิวยอร์คทันทีเพื่อยุติการกระทำในครั้งนี้แต่ไม่มีผู้ใดฟังเสียงของเขาเลย แม้ว่าเขาจะพยายามอธิบายถึงผลเสียที่จะมาจากระเบิดปรมาณูแล้วก็ตามและเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรคาดไว้คือระเบิดปรมาณูสามารถทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นอันยุติลง แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือ มีผู้เสียชีวิตจากระเบิดทั้ง 2 ลูกจำนวนมากกว่า 2 แสนคน และเสียชีวิตภายหลังอีกจากโรคมะเร็งกว่า 200,000 คน   หลังจากที่นีลส์ บอร์ประสบความล้มเหลวจากการหยุดยั้งระเบิด เขาได้เดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก และได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูแห่งเดนมาร์ก ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนี้เขาได้พยายามหยุดยั้งการใช้ระเบิดปรมาณูเพื่อการทำลายล้างทุกวิธีทาง จนในที่สุดความพยายามของเขาก็สัมฤทธิ์ผล ในปี ค.ศ.1955 การประชุมเรื่องปรมาณู ว่าด้วยเรื่องการควบคุมการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติและสร้างสรรค์ มิใช่เพื่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ด้วยกัน ครั้งแรกเกิดขึ้น ที่กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และจากความพยายามของนีลส์ บอร์ ในปี ค.ศ.1957 นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติดภาพ (Atom for Peace Award) จากหอวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นจำนวนเงิน 75,000 เหรียญ ซึ่งนีลส์ บอร์เป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลนี้     นีลส์ บอร์ยังคงทำงานของเขาต่อไป ต่อมาเขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในหัวข้อ ความก้าวหน้าของอะตอม จากสถาบันหลายแห่งและค้นคว้าอะตอมต่อไป จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1962 ที่เมืองโคเปนเฮเกน นีลส์ บอร์ได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากมายให้กับวงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับอะตอม นีลส์ บอร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมากจากรัฐบาลเดนมาร์ก และสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนก็คือ คฤหาสน์อันโอ่อ่าที่มีห้องพักมากถึง 12 ห้อง ซึ่งมูลนิธิคลาสเบิร์ก (Carlsburg Foundation) ปลูกไว้สำหรับเป็นที่พักของนักปราชญ์ชาวเดนมาร์กได้อยู่จนตลอดชีวิต นอกจากนี้นีลส์ บอร์ยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูของเดนมาร์ก และนีลส์ บอร์ยังได้เป็นผู้ควบคุมการสร้างเครื่องปรมาณูเครื่องแรกของเดนมาร์กอีกด้วย

    วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

    Sirimavo Bandairnaike

                   

                    Sirimavo Bandairnaike (สิริมาโว บันดาราไนยาเก) อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของศรีลังกา และยังเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลกอีกด้วย ซึ่งเธอผู้นี้ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนชาวศรีลังกาอย่างถล่มทลายในปี พ.ศ 2503 และดำรงตำแหน่งนายกฯ ถึง 3 สมัยด้วยกัน สืบทายาททางการเมืองมาจากสามีของเธอซึ่งก่อนหน้านั้นก็เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกลอบฆ่าตาย ก่อนจะเกษียณจากการเมืองด้วยวัยถึง 84 ปี เพื่อเปิดทางให้ลูกสาวตัวเอง คือประธานาธิบดีจันทริกา กุมาระตุงคะ เลือกนายกรัฐมนตรีมาทำหน้าที่แทน ก่อนจะเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายในปี 2543 ระหว่างเดินทางกลับไปบ้านเกิดไปเมืองกัมพาหะ ไม่ไกลจากกรุงโคลัมโบ เมืองหลวง

    วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

    ช่างถ่ายภาพคนแรกของประเทศไทย...


                     พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตกุล) (พ.ศ. 2362 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439) เป็นขุนนางในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ที่มีความรู้ในเชิงช่าง สามารถซ่อมเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า มีความสามารถในวิชาช่างชุบโลหะ สามารถประดิษฐ์สร้างเครื่องกลึง
             พระยากระสาปนกิจโกศล เดิมชื่อ โหมด เกิดเมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับ พ.ศ. 2362 เป็นบุตรของพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม) และคุณหญิงเย็น มีภรรยาหลายคน ภรรยาหลวงคือ คุณหญิงพลอย (ธิดาสกุล ไกรฤกษ์) บุตรธิดาที่มีชื่อเสียง คือ พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน(แฉล้ม อมาตยกุล) เจ้าจอมสังวาลย์ อมาตยกุลในรัชกาลที่ 5 และคุณหญิงทรามสงวน อภัยรณฤทธิ์
             นายโหมดได้ศึกษาวิชาการเครื่องจักรและการผสมธาตุผสมโลหะกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน เป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาวิทยาการการถ่ายภาพจากหลุยส์ ลาร์โนดี (L' abbe Larnaudie) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส และเป็นช่างภาพชาวไทยคนแรก มีผลงานถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพวัง และภาพวิถีชีวิตของชาวสยาม ให้กับหมอเฮาส์ ส่งไปสหรัฐอเมริกา
             ในปี พ.ศ. 2403 ในสมัยรัชกาลที่ 4 วิศวกรชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาติดตั้งเครื่องจักรที่โรงกระสาปน์สิทธิการ เพื่อผลิตเงินเหรียญใช้แทนเงินพดด้วง ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน นายโหมดสามารถติดตั้งเครื่องจักรจนใช้งานได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระวิสูตรโยธามาตย์ ทำหน้าที่กำกับการทำเงินในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น พระยากระสาปนกิจโกศล เมื่อ พ.ศ. 2411 ดำรงตำแหน่งจางวางกรมกระสาปน์สิทธิการ ตำแหน่งผู้บังคับการโรงหล่อเหล็กของกรมทหารเรือ และตำแหน่งผู้บังคับการโรงแก๊สของหลวง  และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งใน ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปฤกษาในพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2417
               พระยากระสาปนกิจโกศล ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถอดบรรดาศักดิ์ และจำคุก เมื่อ พ.ศ. 2422 เนื่องจากกรณีที่พระปรีชากลการบุตรชาย ต้องข้อหากบฏจากคดีโกงทองหลวง ท่านพ้นโทษเมื่อ พ.ศ. 2430 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 อายุ 78 ปี

    Jean-Baptiste Pallegoix

                           

                          ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว  หรือที่รู้จักในนาม พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน

     ประวัติ

               พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348 ที่ เมืองโกต-ดอร์ ประเทศฝรั่งเศสเมื่อท่านอายุได้ 23 ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นบาทหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ที่เซมินารีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส จากนั้นท่านก็ได้รับหน้าที่ให้ไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ณ ประเทศไทย และท่านได้ออกเดินทางเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2371 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2372 ในปี พ.ศ. 2381 ท่านได้รับตำแหน่งอธิการโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ท่านได้ปรับปรุงโบสถ์แห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2217 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจากถูกทิ้งร้างมานานแล้วย้ายไปอยู่ที่โบสถ์อัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2381  จนปี พ.ศ. 2378 มุขนายก ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี (Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นได้แต่งตั้งท่านเป็นอุปมุขนายก (vicar general) แล้วให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่ท่านไปดูแลมิสซังที่สิงคโปร์ เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนักให้อภิเษกท่านปาเลอกัวเป็นมุขนายกรองประจำมิสซังสยาม (Coadjutor Vicar Apostolic of Siam) ในปี พ.ศ. 2381 พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส เมื่อมีการแบ่งมิสซังสยามออกเป็นสองมิสซัง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออกเป็นท่านแรก ในวันที่ 10 ก.ย. พ.ศ. 2384
             ท่านได้เรียนภาษาไทยและภาษาบาลี มีความรู้ในภาษาทั้งสองเป็นอย่างดีจนสามารถแต่งหนังสือได้หลายเล่ม นอกจากนั้นท่านมีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ เคมีและดาราศาสตร์ มีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูปและชุบโลหะ บุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้กับท่าน ท่านได้สร้างตึกทำเป็นโรงพิมพ์ภายในโบสถ์คอนเซ็ปชั่น จัดพิมพ์หนังสือสวด
             สังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2397 ช่วงต้นรัชกาลที่ 4 หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี และเป็นผู้นำพระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวาย สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้น 3 เล่ม คือ
    • เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam)
    • สัพะ พะจะนะ พาสา ไท (พจนานุกรมสี่ภาษา)
    • Grammatica linguoe Thai (ไวยากรณ์ภาษาไทย)
    พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2388 โดยได้สั่งบาทหลวงอัลบรันด์ซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศสฝากมากับบาทหลวงลาร์นอดี (L' abbe Larnaudie) เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388
              พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศสนาน 3 ปี จึงเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2399 และถึงแก่มรณภาพที่ โบสถ์อัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2405 อายุ 57 ปี ศพฝังอยู่ในโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ได้มีขบวนแห่จากหน้าโบสถ์อัสสัมชัญ ไปยังหน้าโบสถ์คอนเซ็ปชั่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ให้พิธีศพเป็นไปอย่างสง่างามที่สุด จึงพระราชทานเรือหลวงสองลำเพื่อนำขบวนโดยบรรทุกหีบศพ ขบวนแห่นั้นประกอบไปด้วยเรือดนตรี (ดนตรีไทยจากค่ายคริสตัง) เรือของคริสตัง ข้าราชการไทย และทูตต่างประเทศ

    Nicéphore Niépce

                


                     Nicéphore Niépce (born Joseph Niépce) March 7, 1765 – July 5, 1833)was a French inventor, most noted as one of the inventors of photographyand a pioneer in the field. He is most noted for producing the world's first known photograph in 1825.Among Niépce's other inventions was the Pyréolophore, the world's first 'internal combustion engine', which he conceived, created, and developed with his older brother Claude, finally receiving a patent on July 20, 1807 from the Emperor Napoleon Bonaparte, after successfully powering a boat upstream on the river Saône.

    Biography
                         ______________________________________
    Early life
                Niépce was born in Chalon-sur-Saône, Saône-et-Loire, where his father was a wealthy lawyer; this caused the whole family to flee the French Revolution. His elder brother Claude (1763–1828) was also his collaborator in research and invention, but died half mad and broke in England, having squandered the family wealth in pursuit of non-opportunities for the Pyréolophore. He also had a sister and a younger brother called Bernard.Nicéphore was baptised Joseph but adopted the name Nicéphore, in honour of Saint Nicephorus the ninth-century Patriarch of Constantinople, while studying at the Oratorian college in Angers.At the college he learned science and the experimental method, rapidly achieving success and graduating to work as a professor of the college.

    Military career

             Niépce served as a staff officer in the French army under Napoleon, spending a number of years in Italy and on the island of Sardinia, but ill-health forced him to resign, whereupon he married Agnes Romero and became the Administrator of the district of Nice in post-revolutionary France. In 1795, Niepce resigned as administrator of Nice to pursue scientific research with his brother Claude. One source reports his resignation to have been forced due to his unpopularity.

    Scientific research

               In 1801 the brothers returned to the family's estates in Châlons to continue their scientific research, and where they were united with their mother, their sister and their younger brother Bernard. Here they managed the family estate as independently wealthy gentlemen-farmers, raising beets and producing sugar.

    Claude Niépce

               In 1827 Niépce journeyed to England to visit his seriously ill elder brother Claude, who was now living in Kew, near London. Claude had descended in delirium and squandered much of the family fortune chasing inappropriate business opportunities for the PyréolophoreDeath
    Nicéphore Niépce died on July 5, 1833, financially ruined by the semi-delirious spending of Claude such that his grave in the cemetery of Saint-Loup de Varennes was financed by the municipality. The cemetery is near the family house where he had experimented and had made the world's first photographic image.

     Descendants

    His son Isidore (1805–68) formed a partnership with Daguerre after his father's death and was granted a government pension in 1839 in return for disclosing the technical details of Nicéphore's heliogravure process.
    A cousin, Claude Félix Abel Niépce de Saint-Victor, 1805–70, was a chemist and was the first to use albumen in photography. He also produced photographic engravings on steel.

                    Inventions

    Photography

    One of the two earliest known pieces of seminal photographic activity, made by Nicéphore Niépce in 1825 by the heliogr
     
               Niépce took what is believed to be the world’s first photogravure etching, in 1822,of an engraving of Pope Pius VII, but the original was later destroyed when he attempted to duplicate it.The earliest surviving photogravure etchings by Niépce are of a 17th century engraving of a man with a horse and of an engraving of a woman with a spinning wheel. Niépce did not have a steady enough hand to trace the inverted images created by the camera obscura, as was popular in his day, so he looked for a way to capture an image permanently. He experimented with lithography,which led him in his attempt to take a photograph using a camera obscura.Niépce also experimented with silver chloride, which darkens when exposed to light, but eventually looked to bitumen, which he used in his first successful attempt at capturing nature photographically. He dissolved bitumen in lavender oil, a solvent often used in varnishes, and coated the sheet of pewter with this light capturing mixture.He placed the sheet inside a camera obscura to capture the picture, and eight hours later removed it and washed it with lavender oil to remove the unexposed bitumen.
    He began experimenting to set optical images in 1793. Some of his early experiments made images, but they faded very fast. Letters to his sister-in-law around 1816 indicate that he found a way to fix images on paper, but not prevent them from deterioration in light. The earliest known, surviving example of a Niépce photograph (or any other photograph) was created in 1825.Niépce called his process heliography, which literally means "sun writing".Nevertheless, semiologist Roland Barthes, in a Spanish edition of his book "La chambre claire", "La cámara lúcida" (Paidós, Barcelona,1989) shows a picture from 1822, "Table ready", a foggy photo of a table set to be used for a meal.
    Starting in 1829 he began collaborating on improved photographic processes with Louis Daguerre, and together they developed the physautotype, a process that used lavender oil. The partnership lasted until Niépce’s death in 1833. Daguerre continued with experimentation, eventually developing a process that little resembled that of Niépce.He named this the "Daguerréotype", after himself. He managed in 1839 to get the government of France to purchase his invention on behalf of the people of France. The French government agreed to award Daguerre a yearly stipend of 6,000 Francs for the rest of his life, and to give the estate of Niépce 4,000 Francs yearly. This arrangement rankled with Niépce's son, who claimed Daguerre was reaping all the benefits of his father's work. In some ways, he was right—for a good many years, Joseph Nicéphore Niépce received little credit for his significant contribution to the development of photography. Later historians have reclaimed Niépce from relative obscurity, and it is now generally recognized that his "heliographic" process was the first successful example of what we now call photography: an image created on a light-sensitive surface, by the action of light.

    Pyréolophore

    The Pyréolophore, probably the world's first internal combustion engine to be built, was invented and patented by the Niépce brothers in 1807. This engine ran on controlled dust explosions of Lycopodium and was installed on a boat that ran on the river Saône. Ten years later, they were the first in the world to make an engine work with a fuel injection system.Coincidentally, in 1807 François Isaac de Rivaz also constructed an engine powered by internal combustion .

    Marly machine

    In 1807 the imperial government opened a competition for a hydraulic machine to replace the original Marly machine (located in Marly-le-Roi) that delivered water to the Palace of Versailles from the Seine river. The machine was built in Bougival in 1684, from where it pumped water a distance of one kilometer and raised it 150 meters. The Niépce brothers conceived a new hydrostatic principle for the machine and improved it once more in 1809. The machine had undergone changes in many of its parts, including more precise pistons, creating far less resistance. They tested it many times, and the result was that with a stream drop of 4 feet 4 inches, it lifted water 11 feet. But in December 1809 they got a message that they had waited too long and the Emperor had taken on himself the decision to ask the engineer Perier (1742–1818) to build a steam engine to operate the pumps at Marly.

    Vélocipède

    In 1818 Niépce became interested in the ancestor of the bicycle, a Laufmaschine invented by Karl von Drais in 1817. He built himself a model and called it the vélocipède (fast foot) and caused quite a sensation on the local country roads. Niépce improved his machine with an adjustable saddle and it is now exhibited at the Niépce Museum. In a letter to his brother Nicéphore contemplated motorizing his machine.

    Legacy and commemoration
    The lunar crater Niepce is named after him.
    As of 2008 Niépce's photograph, View from the Window at Le Gras, is on display in the Harry Ransom Humanities Research Center at the University of Texas at Austin. The image was rediscovered in 1952 by historians Alison and Helmut Gernsheim.
    The Niépce Prize has been awarded annually since 1955 to a professional photographer who has lived and worked in France for over 3 years. It was introduced in honour of Nièpce by Albert Plécy of the l'Association Gens d'Images.